Exhibition

Connecting Mentality จิตสัมพัทธ์

Connecting Mentality จิตสัมพัทธ์

Exhibition by Preecha Pun-Klum

4th – 25th September 2021

“Creating art is the expression of thoughts and emotions through certain forms of an individual artist”. Form conveys thought and emotional expressions regarding person’s instinctive character, and the pure value of the art and the art creator. The life circle of arts has begun in its own path and duty. Even though the true inner soul of artist himself may deeply be connected with the art but eventually there would be only the name that lasts forever.


The world of reality never lies, especially worldly conditions. Everything has its own reason to the changes with both supporting and opposing sides. It may sometimes lead to the new balance, or else a disaster. Although it seemed to be complicated outwardly but if it was being considered thoughtfully, it would be easier than what we thought. The way of things has both cause and effect and that makes thing changes. Therefore, everything is meaningful to one another somehow.


Absolute truth and Relative truth, the important implication of absolute truth is the independently truth for all people while relative truth is related to particular people depending on the conditions. Thus, connective mind can be defined the mind that attached with superficial things in varying time. Attempting to become something of humans has been under control of the mind or certain thoughts against all appearances. This is the reason why we should think and do repeatedly in order to find the core of sadness of all and passing on to the form of arts with the purpose of testing the sameness and the truth of cyclicality of all life, Samsara.


An inner stimulus has been an unlimitedly demanding. Emotion is comparative to water that flows along with its surrounding, the state will be changed when it encounters something like mud and sand that will make it dirty. Likewise, the thought has its own limitless particular brain system. Both emotions and thoughts are supposed to be under control although it couldn’t be all, wherefore the practice of enlightenment and letting go is needed to be taught in order to adjust with certain states of mind and painless to all.


The exhibition “Connecting Mentality” by Preecha Pun-Klum, an artist who creates paintings for more than 10 years. This exhibition represents the internal state that has built connective dimensions with surroundings and the relatively situations of humans lives. Particularly, an artist himself had developed as well as the important responsibilities in certain of time that had been surpassed steadily. Social impact and the evolution of the world in all aspects has affected and influenced on humans’ lifestyles. A creation seemed to be able to greatly respond against intricate emotions that had gathered and transformed matters into a form.


The exhibition “Connecting Mentality” has full of stories and his personal characters. It was created and exposed it exquisitely truthfully. For example the work titled “The memory of that night”. It is relating to the childhood that we are familiar with and it still clearly remains in our memories especially the name of “Temple night fair”. Therefore he has expressed those atmospheres through the work in order to connect a dimension of the audiences with their individual experiences and lastly cheering their joys with the art in front of them. The work “Connecting Mentality” expresses a complete feeling with a balance of light and dark tones colors that enhance an image of happiness of the universe. Hence it is peculiar and harmonious at the same time. The important thing that can connect with the principle of this exhibition and each art works is a connective mind with an effortlessly relating from one to another work but let them be their own identity. Instead, observing and focusing on your mind repeatedly to ignite the soul for an inspiring life.


Preecha Pun-Klum, is currently an associate professor at department of Applied Art, the faculty of Decorative arts, Silpakorn University, Uttaradit province. He graduated a bachelor degree at Printmaking, Chiangmai University and master degree at Printmaking, Silpakorn University. He got awarded and participated in many events and exhibitions such as an outstanding award in “4th Art brings good things to life” contest. Third class honors award, bronze medal in printmaking, 33th Art installation. “The rising happiness” exhibition and “Design Network Asian” exhibition in 2017, at Decorative arts, Silpakorn University and many more participations in Bangkok and other places.




“การสร้างสรรค์ศิลปะเป็นการสื่อสารความคิดหรืออารมณ์ผ่านรูปทรงอันมีรูปแบบความเฉพาะตนของศิลปิน” รูปทรงหมายถึงสื่อที่สามารถแสดงออกความคิดหรืออารมณ์ตามบุคลิกนิสัยอันเป็นธรรมชาติ แสดงคุณค่าที่แท้จริงเพื่อตัวของศิลปะและศิลปินเอง เมื่อวงจรชีวิตของศิลปะชิ้นนั้นก็จะเริ่มต้นมีเส้นทางและบทบาทของตนเอง ถึงแม้ว่าเนื้อแท้จิตวิญญาณสายใยแห่งตัวตนศิลปินจะผูกสัมพัทธ์กับผลงานแต่ก็ไร้รูปไร้ร่องรอยเมีแต่เพียงนามติดผลงานตลอดไป


โลกแห่งความเป็นจริงนั้นไม่เคยหลอกลวงโดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกธรรม ทุกสิ่งสรรพ์ล้วนมีเหตุปัจจัยที่เกื้อหนุนและปฏิปักษ์นำไปยังจุดแห่งความแปรเปลี่ยน บางครั้งก็ไปสู่ความสมดุลใหม่ บางทีก็ไปสู่ความเสื่อม หรือแม้แต่การอุบัติใหม่ก็ดี แม้บางส่วนจะดูซับซ้อน ซึ่งที่สุดแล้วนั้นหากพินิจพิจารณอย่างแยบคายจะพบว่าสิ่งเหล่านั้นกลับเรียบง่ายยิ่งกว่า วิถีของสิ่งต่างๆย่อมมีเหตุและผลเป็นปัจจัยต่อกันในความเปลี่ยนแปลง ดังนั้นทุกๆ สิ่งล้วนมีความหมายในทางใดทางหนึ่งต่อกันมิอาจอยู่เพียงลำพัง

ความจริงสัมบูรณ์และความจริงสัมพัทธ์ นัยยะสำคัญของคำว่าสัมบูรณ์เป็นความหมายในสิ่งที่เป็นเช่นนั้นโดยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนคำว่าสัมพัทธ์เป็นความหมายในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบทที่สัมพันธ์ จิตสัมพัทธ์ จึงอยู่ในนิยามที่ว่าจิตนั้นพันผูกสัมพันธ์กับสรรพสิ่งปรุงแต่งไปตามแก่กาล หนทางที่มนุษย์อย่างเราๆ ใคร่เป็น จึงตกอยู่ในอำนาจของจิตที่เฝ้าเพียรสนธิอารมณ์หรือความคิดต่อรูปและนามทั้งปวง เหตุนี้เองที่ต้องย้ำคิดย้ำทำเพื่อแสวงหาส่วนที่ลึกของความทุกข์ใดๆ ในรูปของการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยความปราถนาในรสที่ซ้ำไปซ้ำมาเพื่อความจริงแท้ที่เวียนวนในสังสารวัฏ


แรงกระตุ้นเร้าจากภายใน เป็นความต้องการที่ไม่เคยมีขอบเขตอย่างแท้จริง อารมณ์ความรู้สึกเป็นดั่งน้ำที่ไหลไปเป็นสภาพตามสิ่งแวดล้อม จะขุ่นมัวเมื่อเจอโคลน ทราย สิ่งเจอปนต่างๆนานา ความคิดก็เช่นกันมีกลไกสมองที่ทำงานไร้รูปแบบอยู่ที่การควบคุม ทั้งอารมณ์และความคิดจึงต้องมีการ ควบคุมถึงแม้อาจทำได้ไม่อย่างหมดจรด จึงมีการฝึกให้รู้แจ้งและปล่อยวางนิ่งเฉยกับบางสภาพเพื่อให้ไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นๆ

นิทรรศการ “Connecting Mentality จิตสัมพัทธ์” โดย ปรีชา ปั้นกล่ำ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม มายาวนานมากกว่า 10 ปี นิทรรศการครั้งนี้เป็นการแสดงออกถึงภาวะภายในที่สร้างมิติสัมพันธ์กับบริบทสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวตามสถานการณ์การดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะศิลปินเองที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนย้าย ภาระกิจสำคัญของช่วงเวลาชีวิต มีความสมดุลเข้ารูปเข้ารอยมากขึ้น ผลกระทบจากสังคม การพัฒนาการของโลกในทุกด้านส่งอิทธิพลจนเกิดพลวัตต่อรูปแบบชีวิต การสร้างสรรค์ยังคงมีท่วงท่าในการถ่ายทอดที่รู้สึกได้ว่าสามารถตอบสนองชั้นเชิงทางอารมณ์ที่ก่อมวลปะทุจนแปรธาตุออกมาให้ปรากฏเป็นรูปทรง


นิทรรศการ “Connecting Mentality จิตสัมพัทธ์” ประกอบไปด้วยเรื่องราว อุปนิสัยของตัวศิลปิน สร้างสรรค์ปรุงแต่งผัสสะ แล้วถ่ายทอดสู่ผลงานอย่างตรงไปตรงมาเช่น ผลงานชิ้น “ความทรงจำในค่ำคืนนั้น” ในช่วงวัยเด็กที่เราทุกคนต้องคุ้นเคยกับคำว่า "งานวัด" ซึ่งเป็นความประทับใจที่ยังติดอยู่ในความทรงจำอย่างชัดเจน จึงถ่ายทอดบรรยากาศของช่วงเวลาเหล่านั้นออกมา เพื่อเป็นสื่อกลางที่จะนำนิมิตของผู้ชมให้เชื่อมต่อกับประสบการณ์ของตนเอง นำพาความปิติของตนมาบรรจบกับผลงานที่อยู่ตรงหน้า และผลงานชิ้น “จิตสัมพัทธ์” เป็นการถ่ายทอดเรียบเรียงความรู้สึกด้วยค่าน้ำหนักของสีที่สว่างและมืดสลับกันไปมา เกิดเป็นภาพแห่งความสุขที่อบอวลเป็นเอกภาพ หากแต่กลมกลืนและดูแปลกตาในเวลาเดียวกัน หัวใจสำคัญที่จะสัมผัสถึงแก่นสารในนิทรรศการครั้งนี้คือต้องมีจิตสัมพัทธ์ไปกับผลงานแต่ละชิ้น โดยไม่พยายามเชื่อมโยงจากรูปผลงานหนึ่งไปยังรูปผลงานหนึ่ง ปล่อยให้ทุกงานเป็นสารัตถะแห่งตนเอง และใช้จิตนั้นสำรวจจิตเดิมเพื่อผลอันเป็นคุณต่อวิญญาณอันเป็นภาวะนามธรรมที่เป็นพลังขับเคลื่อนให้กับชีวิต

ปรีชา ปั้นกล่ำ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ภาควิชาประยุกตศิลปศึกษา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศิลปินจากจังหวัดอุตรดิตถ์ จบการศึกษาปริญญาตรี (ภาพพิมพ์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโท (ภาพพิมพ์) มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับรางวัลและเข้าร่วมแสดงนิทรรศการต่างๆ เช่น รางวัลดีเด่น หัวข้อ ศิลปกรรมนำสิ่งที่ดีสู่ชีวิต ครั้งที่ 4, รางวัลเกียรตินิยมอันดับ 3 เหรียญทองแดง (ภาพพิมพ์) การแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 33, นิทรรศการ รุ่งอรุณแห่งความสุข และนิทรรศการ Design Network Asian 2558 ณ หอศิลปะและการออกแบบคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งยังได้เข้าร่วมการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ กรุงเทพฯ และอื่นๆ อีกมากมาย


Abstract Phenomenon, 2020, Acrylic on canvas, 140x140 cm.
Abstract Phenomenon, 2020
Acrylic on canvas,
140x140 cm.
Abstract Phenomenon, 2021, Acrylic on canvas, 140x140 cm.
Abstract Phenomenon, 2021
Acrylic on canvas,
140x140 cm.
Being Dragon, 2019, Acrylic on canvas, 200x150 cm.
Being Dragon, 2019
Acrylic on canvas,
200x150 cm.
Body and Mind Before Peace, 2020, Acrylic on canvas, 160x120 cm.
Body and Mind Before Peace, 2020
Acrylic on canvas,
160x120 cm.
Celebrate Day, 2019, Acrylic on canvas, 200x150 cm.
Celebrate Day, 2019
Acrylic on canvas,
200x150 cm.
Celebrate Life, 2019, Acrylic on canvas, 200x150 cm.
Celebrate Life, 2019
Acrylic on canvas,
200x150 cm.
Connecting Mentality, 2020, Acrylic on canvas, 190x240 cm.
Connecting Mentality, 2020
Acrylic on canvas,
190x240 cm.
Connecting Mentality, 2021, Acrylic on canvas, 150x200 cm.
Connecting Mentality, 2021
Acrylic on canvas,
150x200 cm.
Connecting Mentality, 2021, Acrylic on canvas, 150x200 cm.
Connecting Mentality, 2021
Acrylic on canvas,
150x200 cm.
Field of Light, 2020, Acrylic on canvas, 150x200 cm.
Field of Light, 2020
Acrylic on canvas,
150x200 cm.
Life Motive, 2020, Acrylic on canvas, 190x240 cm.
Life Motive, 2020
Acrylic on canvas,
190x240 cm.
Memory of that Night, 2018, Acrylic on canvas, 120x200 cm.
Memory of that Night, 2018
Acrylic on canvas,
120x200 cm.
Men 7.0, 2019, Acrylic on canvas, 160x140 cm.
Men 7.0, 2019
Acrylic on canvas,
160x140 cm.
Village, 2019, Acrylic on canvas, 200x150 cm.
Village, 2019
Acrylic on canvas,
200x150 cm.
The Tree of King RAMA 9, 2019, Acrylic on canvas, 200x150 cm.
The Tree of King RAMA 9, 2019
Acrylic on canvas,
200x150 cm.